images

มด ANT


 

     มด อยู่ในวงศ์ (Formicidae) เป็นแมลงสังคมที่แท้จริง (Eusocial insects) อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (colony) ในแต่ละชนิด มีหลายรุ่นใน 1 กลุ่ม ภายในกลุ่มแบ่งออกเป็นวรรณะต่างๆ ดังนี้

     1. ราชินี (queen)  มี 1 หรือมากกว่า 1 ตัว เป็นเพศเมียที่ที่สืบพันธุ์ได้
     2. มดเพศผู้ (male)  มีจำนวนเล็กน้อย
     3. วรรณะมดงาน (Worker)  พบเป็นส่วนมากเป็นเพศเมียที่เป็นหมัน ในมดบางชนิดมีวรรณะทหาร (intermediate castes) เป็นเพศเมียที่เป็นหมันแต่มีขนาดใหญ่กว่า major worker ภายในมดกลุ่มๆหนึ่งจะมีราชินี ที่ทำหน้าที่วางไข่และมดงานที่เป็นตัวเต็มวัยจำนวนมากซึ่งรวมถึง ไข่ ตัวหนอน และดักแด้ มดงานเป็นมดที่มีมากที่สุดในแต่ละรัง โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างรังและดูแลรัง หาอาหาร ดูแลสมาชิกภายในรังและราชินี ป้องกันรัง ราชินีและเพศผู้ที่มีปีกจะอยู่ในรังช่วงสั้นๆ เท่านั้น ในเวลาต่อมาก็จะออกจากรังเพื่อผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ ราชินีโดยทั่วไปคล้ายกับมดงาน ต่างกันตรงที่มีส่วนท้องใหญ่กว่า มดเพศผู้นั้นมีขนาดเท่ากับมดงานหรือเล็กกว่าเล็กน้อย

     วงจรชีวิตมด
     1. มดราชินี  มีขนาดใหญ่กว่าชนิดอื่นภายในรัง มีปีก อกหนา ท้องใหญ่ ทำหน้าที่สร้างรังและวางใข่ ควบคุมกิจกรรมต่างๆภายในรัง
     2. มดเพศผู้  มีปีก ส่วนอกหนาแต่น้อยกว่าราชินี มีหน้าที่ผสมพันธุ์ มีจำนวนน้อย
     3. มดงาน เป็นมดเพศเมียที่เป็นหมัน ไม่มีปีก ไม่มีตาเดี่ยว มีหน้าที่ออกหาอาหาร สร้างรัง รักษารัง ดูแล และป้องกันสมาชิกภายในรังมด จัดเป็นแมลงที่มีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์แบบ (complete metamorphosis) ประกอบด้วย ไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยเนื่องจากมด เป็นแมลงสังคม สมาชิกในรังจะแบ่งแยกชั้นวรรณะแยกออกจากกันชัดเจน มดงานบางชนิดสามารถแบ่งออกเป็น มดงานที่มีรูปร่างแบบเดียว (monomorphic from) และมดงานที่มีรูปร่าง 2 รูปแบบ (dimorphic : major worker, minor worker) พฤติกรรมการสร้างรัง และการผสมพันธุ์

     พฤติกรรมการหาอาหารของมด
      มดสามารถหาอาหารได้ทั้งกลางวันและกลางคืน กินอาหารได้หลากหลาย สามารถเก็บอาหารไว้ในกระเพาะจนเต็ม แล้วนำไปแจกจ่ายให้สมาชิกตัวอื่นภายในรัง โดยสำรอกออกมา

     พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร
     มดใช้ฟีโรโมน (pheromone) ในการติดต่อสื่อสาร โดยอาศัยหนวดและขาคู่หน้า ฟีโรโมนมีหลายชนิด เช่น ฟีโรโมนนำทาง (trail pheromone) , ฟีโรโมนเตือนภัย (alarm pheromone) และฟีโรโมนอื่นๆ เช่น  ฟีโรโมนเพศ (sex pheromone) ที่ราชินีปล่อยออกมาเพื่อดึงดูดเพศผู้ให้มาผสมพันธุ์