images

การจัดการยุง Mosquito Management


การจัดการยุง
  1. การจัดการแหล่งเพาะพันธุ์ (ช่วยควบคุมอัตราการเกิดของตัวอ่อนเพื่อลดประชากรตัวแก่)
 ขั้นตอนการดำเนินการเริ่มจากการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ ความชุกชุมของลูกน้ำและตัวยุงเพื่อวางแผนจัดการควบคุม ภายหลังการปฏิบัติงานต้องมีการประเมินผลโดยสำรวจแบบเดียวกับก่อนการควบคุมเพื่อตรวจสอบว่ายุงลดลงหรือไม่แหล่งเพาะพันธุ์ของยุงแต่ละชนิดแตกต่างกัน ดังนั้น ต้องมีความรู้เกี่ยวกับชีววิทยาและนิเวศวิทยาของยุงที่ต้องการกำจัดยุงในระยะตัวอ่อน ซึ่งก็ คือ ลูกน้ำ  ดังนี้

  ยุงลาย  เพาะพันธุ์ในภาชนะขังน้ำ เช่น โอ่งใส่น้ำดื่ม-น้ำใช้ บ่อคอนกรีตขังน้ำในห้องน้ำ แจกัน  ภาชนะใส่ต้นไม้น้ำ การจัดการต้องเป็นการหาวิธีป้องกันไม่ให้ภาชนะดังกล่าวเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ เช่น  ปิดฝาภาชนะให้มิดชิดด้วยผ้า ตาข่าย อลูมิเนียม หรือแผ่นโลหะ ทำความสะอาดขัดล้างโอ่ง ระบายน้ำทิ้ง  เปลี่ยนน้ำในแจกันทุก 4-5 วัน ในกรณีของวัสดุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ยางรถยนต์เก่า โอ่ง-อ่างแตก ควรแนะนำให้กำจัดทิ้งไป หรือนำไปดัดแปลงใช้ให้เกิดประโยชน์อื่น เช่น นำไปใส่ดินปลูกพืชสวนครัว เป็นต้น  สำหรับแหล่งเพาะพันธุ์ตามธรรมชาติ เช่น โพรงไม้ กาบใบพืช กระบอกไม้ไผ่ สามารถป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์โดยใส่ดินหรือทราย หรืออุดด้วยซีเมนต์ หรือฉีดพ่นสารกำจัดลูกน้ำซึ่งอาจใช้สารเคมี  หรือสารชีวภาพ  วิธีการจัดการกับวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เช่น ขวด กระป๋อง โอ่งแตก ไหแตก ถังพลาสติกชำรุด ยางรถยนต์ กะลามะพร้าว เปลือกทุเรียน ถ้วยยางพาราเก่า ๆ เป็นต้น

  ยุงรำคาญ  เพาะพันธุ์อยู่ในท่อระบายน้ำ แหล่งน้ำขังที่มีมลภาวะสูงการจัดการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ทำได้หลายวิธี เช่น

  - การเก็บขยะในแหล่งน้ำขัง เพื่อจะได้ไม่เป็นอาหารของลูกน้ำและเป็นที่หลบซ่อนของลูกน้ำ จากการสังเกตพบว่าแอ่งน้ำขังหรือคลองที่ไม่มีขยะลอยอยู่ในน้ำจะไม่ค่อยมีลูกน้ำยุงรำคาญเพราะไม่มีแหล่งเกาะพักของลูกน้ำ ไม่มีร่มเงา

  - การกำจัดต้นหญ้าที่อยู่ริมขอบบ่อ

  - การทำให้ทางระบายน้ำไหลได้สะดวก เพราะยุงรำคาญชอบอาศัยในแหล่งน้ำขัง หรือน้ำนิ่ง ซึ่งมีเศษขยะลอยอยู่บนผิวน้ำ

  - การถมหรือระบายน้ำในแหล่งน้ำที่ไม่จำเป็นออก เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ให้น้อยลง

 

  

 

  2. การจัดการโดยใช้สารเคมี  
  การใช้มาตรการควบคุมโดยใช้สารเคมีนี้จะต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุมโดยอาศัยความรู้ทางชีวนิสัยของยุงพาหะ ระบาดวิทยาของโรค ความเป็นพิษของสารเคมี และสารเคมีกำจัดยุงที่นำมาใช้ต้องมีความปลอดภัยสูง และควรได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก WHO ให้ใช้กำจัดยุงพาหะนำโรค

 

  

พ่นละอองสารเคมีกำจัดยุง                              พ่นหมอกควันกำจัดยุง

 

  

พ่นละอองสารเคมีกำจัดยุง / แมลงบิน                  เครื่องดักแมลงไฟฟ้าสำหรับแมลงบิน
                                                                     ที่เล็ดลอดเข้าไปในพื้นที่