images

การจัดการหนู Rodent Management


 การจัดการหนู (Rodent management)

 เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าหนูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ฉลาด สามารถหลบเลี่ยง หรือหลบหลีกวิธีการปฏิบัติของมนุษย์ที่ใช้ควบคุมและลดปริมาณหนูได้ การป้องกันและกำจัดหนูจึงต้องใช้วิธีการหลาย ๆ วิธีไปพร้อมกัน  จึงจะประสบความสำเร็จ ดังนั้น หลักการจัดการหนูแบบบูรณาการ (Integrated Rodent  Management)  จึงควรนำมาใช้เป็นยุทธวิธีในการป้องกัน ควบคุม และกำจัดหนู ซึ่งถือว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าวิธีอื่นใด โดยมีขั้นตอน ต่อไปนี้

 การสำรวจปริมาณหนูจากร่องรอยของหนูและประเมินปัญหาหนูในพื้นที่ ตลอดจนการทำแผนที่สภาพพื้นที่ต้องการควบคุมหนู ตำแหน่งที่วางภาชนะใส่เหยื่อพิษ, กับดักกาว, กรง, กับดักตีตาย และวางแผนการปฏิบัติงาน

  

 1 สำรวจร่องรอย-เส้นทางเดินของหนู
 มีความสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการป้องกันและกำจัดหนู เพราะช่วยให้ทราบว่ามีหนูอยู่บริเวณนั้นหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด ร่องรอยหนูที่สามารถสังเกตได้ มีดังนี้  รอยกัดแทะ  เนื่องจากหนูมีนิสัยชอบกัดแทะเพื่อกินอาหารและลับฟัน หากเราพบรอยกัดแทะใหม่ ๆ ของอาหาร หรือสิ่งของต่าง ๆ สามารถยืนยันได้ว่า ณ ที่นั้นมีหนูอยู่ และอาจจำแนกชนิดของหนูที่มีอยู่ได้ว่าเป็นตัวเล็กหรือตัวใหญ่จากขนาดของร่องรอยกัดแทะนั้น โพรง หรือรูหนู หนูชอบอาศัยในที่ที่มีลักษณะเปียก ชื้น เรียบมัน อาจขุดรูเป็นโพรงลงในดิน และ  มักมีขุยดินมากมายกองหน้าปากรูทางเข้า หรืออาจอาศัยบริเวณที่พักและน้ำท่วมไม่ถึงภายในท่อระบายน้ำ  สำหรับรูของหนูท้องขาวบ้านมักไม่พบขุยดิน  รอยทางเดิน  และรอยตีนหนู  หนูใช้เส้นทางเดิมเวลาออกหากินเสมอ ถ้าพบหนูอาศัยภายนอกอาคารหรือโรงเรือน จะเห็นทางเดินเล็ก ๆ บนผิวดินบริเวณใกล้กำแพงเป็นทางราบเรียบ ระหว่างต้นวัชพืช หรือลอดใต้กองฟาง หรือรอบต้นไม้ที่หนูชอบปีนป่ายไปหาอาหารหรือพักอาศัย หรือตามฝาผนัง กำแพงภายในอาคาร มักพบรอยคราบสกปรกดำ อันเนื่องจากไขมันจากขนบริเวณท้องและปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังพบรอยตีนหนู  มูลหนู และขนของหนูด้วยเช่นกัน หากทางนั้นใช้เป็นเวลานาน ๆ จะมองเห็นทางได้ชัดเจน  มูลหนูและปัสสาวะหนู  มูลของหนูใหม่ ๆ จะเปียก นุ่มเหนียว เป็นมัน เวลากดเปลี่ยนรูปได้ง่าย มักพบบริเวณที่กินอาหาร และบริเวณทำกิจกรรมต่าง ๆ ขนาดของมูลหนูอาจจำแนกชนิดของหนูเบื้องต้นได้

  

    

 

 2  ลักษณะอื่นๆ ที่ใช้สังเกต

 สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้การมีอยู่ของหนูในบริเวณนั้นได้ด้วย เช่น มูลขับถ่าย คราบดำ เสียงร้อง เสียงวิ่ง กลิ่นสาบ ซากหนู ร่องรอยการกัดทำลายวัสดุข้าวของหรือ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้น สำหรับการพบเห็นหนูในเวลากลางวัน 1 ตัว ก็อาจประมาณได้ว่า ณ บริเวณนั้นมีหนูอยู่ประมาณ 25 ตัว

 

  

             รอยเท้าหนู                                             ร่องรอยการกัดแทะของหนู

  

โพรงที่หนูกัดแทะเป็นทางเข้า-ออก                           ร่องรอยการกัดแทะของหนู

    

 คราบทางเดินดำที่เกิดจากรอยเท้าหนู     โพรงหนูที่กัดแทะงานระบบท่อประปา

 

  

มูลขับถ่ายของหนู                                                   ลูกหนูแรกคลอด

 

การใช้เหยื่อพิษรอบนอกตัวอาคารในจุดที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์หลบซ่อนของประชากรหนู