images

การจัดการแมลงทั่วไป General Pest Management


แมลงคลาน Crawling Insect

     แมลงสาบและมด ถือเป็นแมลงคลานที่มักจะใช้ความพยายามหาทางเข้าสู่บ้านของคุณ เพราะมันถูกชักนำด้วยอาหารที่เก็บไว้อย่างไม่เหมาะสม และจะนำมาซึ่งความรำคาญอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นในสถานที่สาธารณะล้วนแต่ต้องการความมั่นใจว่าอาหารได้ถูกจัดเก็บอย่างสะอาดและถูกหลักสุขอนามัย ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของคุณ

     นอกจากทำการปกป้องพื้นที่แล้ว การใช้เหยื่อแมลงสาบในรูปแบบของเจลในสถานที่ก็เป็นยุทธวิธีหนึ่ง เพราะเจลแมลงสาบได้ถูกออกแบบมาให้ใช้ในพื้นที่ขนาดเล็กโดยเฉพาะเด็กและสัตว์เลี้ยงจะไม่สามารถสัมผัสได้และเจลนั้นก็ยังสามารถคงสภาพอยู่ได้นานถึง 3-4 สัปดาห์ เนื้อเจลมีคุณสมบัติล่อชักนำแมลงสาบให้เข้ามากินเพราะมีส่วนผสมของอาหารที่แมลงสาบชื่นชอบและนี่ก็เป็นทางเลือกในการกำจัดแมลงสาบโดยเฉพาะได้อย่างแยบยล เจลแมลงสาบเองยังสามารถออกฤทธิ์ส่งผลให้เกิดการตายอย่างต่อเนื่องหากมีการนำกลับมา

 

  

   

  

 

     ที่รังมดเองก็เช่นเดียวกัน มีกลวิธีที่ใช้กำจัดมดแบบเหยื่อในรูปแบบของเจลและเหยื่อชนิดเม็ด เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดในพื้นที่ปัญหาเท่านั้น ลดการปนเปื้อนของสารเคมีชนิดน้ำไปยังพื้นที่อื่นๆ

 

  

 

การจัดการตัวเรือด

การตรวจเช็ค-ร่องรอยของตัวเรือด 

     ต้องดำเนินการสำรวจเรือดอย่างละเอียดถี่ถ้วนทุกซอกทุกมุมของห้องอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดือนละครั้ง บริเวณที่อาจจะพบตัวเรือดในห้องพัก ได้แก่ หัวเตียง สิ่งประดับเหนือหัวเตียง ขอบเตียง กรอบไม้ใต้เตียง ฐานรองที่นอน (Box spring) ไม้บัวหัวเตียงและรอบห้อง บนที่นอน ขอบที่นอน ใต้ที่นอน พรมริมผนังกำแพง โต๊ะหัวเตียง โต๊ะเครื่องแป้ง ที่วางกระเป๋า ตู้เสื้อผ้า เก้าอี้หวาย ผ้าม่าน ผนังห้อง ขอบเสา ขอบหน้าต่าง และกรอบรูป การสำรวจเรือดต้องดำเนินการทั้งก่อนและหลังการควบคุม
 

  

  

 

สิ่งบ่งชี้แสดงว่ามีเรือดอยู่ในบริเวณนั้น

  • เรือด (ที่ยังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว)
  • รอยเปื้อนมูลดำของเรือด
  • คราบของเรือดที่ลอกทิ้งไว้
  • ไข่ของเรือด (อาจฟักแล้วหรือยังไม่ฟัก)


  

  

  

ซากคราบเก่าที่ตัวเรือดลอกคราบเพื่อเจริญเติบโต

 

 

การกำจัดตัวเรือด

     การป้องกันกำจัดเรือดโดยใช้สารเคมีต้องดำเนินการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงโดยเลือกใช้สารเคมีกำจัดแมลงชนิดที่ตัวเรือดยังไม่สร้างความต้านทาน ทั้งนี้จะต้องฉีดพ่นสารเคมีดังกล่าวให้ทั่วทุกซอกทุกมุมที่เป็นแหล่งหลบซ่อนของตัวเรือด และต้องสำรวจและประเมินผลหลังการ ควบคุมทุกครั้ง ประมาณ 7-14 วัน หลังการฉีดพ่นกำจัดตัวเรือด โดยการสำรวจอย่างละเอียดถี่ถ้วน หากยังพบตัวเรือดแสดงว่าการฉีดพ่นยังไม่ครอบคลุมบริเวณที่มีตัวเรือด ต้องดำเนินการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงซ้ำทันที และประเมินการควบคุมอีกจนกว่าจะไม่พบตัวเรือด

นอกจากนี้ยังต้องหมุนเวียนเปลี่ยนกลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้ ทุกๆ 6-12 เดือน เพื่อลดปัญหาการสร้างความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงของเรือด

 

  

ฉีดพ่นสารเคมีบริเวณกรอบเตียงโดยรอบ

 

ฉีดพ่นสารเคมีบริเวณใต้เตียงและขาเตียง

 

 

ฉีดพ่นสารเคมีบริเวณใต้โต๊ะ เก้าอี้ ตลอดจนเฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง

 

 

อบละอองสารเคมีบริเวณที่พบปัญหาประชากรตัวเรือดระบาด
(*หลังอบต้องนำไปซักทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ก่อนนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้าง)